แผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐

บทสรุปผู้บริหาร 

ᅟᅟᅟᅟมหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และลักษณะงานและวิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้รับการพัฒนาให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย

แสดงเพิ่มเติม...


ส่วนที่ ๑ บทนำ

๑.๑ ความเป็นมา

ᅟᅟᅟᅟบุคลากรมีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นปัจจัยที่มีส่วนพลักดันและส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเกิดการพัฒนา ตามภารกิจต่าง ๆ ของส่วนงานให้บรรลุผลสำเร็จและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรของส่วนงานอย่างเหมาะสม จนทำให้บุคลากรส่วนใหญ่พึงพอใจ และมีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของตนที่มีอยู่ในองค์กร เมื่อบุคลากรมีความรู้ ความสามารถ ก็จะทำให้การปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละคนมีประสิทธิภาพสูงสุด และจะทำให้ผลสัมฤทธิ์โดยรวมของส่วนงานสูงสุดด้วย แต่เนื่องจากองค์กรทุกแห่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ สภาวการณ์การแข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของผู้รับบริการ ฉะนั้น ส่วนงานทุกแห่งจำเป็นจะต้องมีการวางแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วย

ᅟᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในระดับอุดมศึกษา จำเป็นจะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดต่องบประมาณที่ได้รับจัดสรร ประกอบกับบุคลากรของรัฐแต่ละบุคคลมีความรู้ ความสามารถหลากหลาย มีความแตกต่างกันตามหน้าที่และภารกิจ จำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ และนโยบายของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ที่ ๑ จัดการศึกษา พัฒนาบัณฑิตให้มีสติปัญญาและคุณธรรม เป้าประสงค์ ๑.๒ หลักสูตรมีการบูรณาการหลักพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ และเป้าประสงค์ที่ ๑.๓ อาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และสามารถบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และ  ยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล เป้าประสงค์ที่ ๕.๓ มีระบบการบริหารจัดการองค์กรวิถีพุทธ ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)

๑.๒ วัตถุประสงค์

ᅟᅟᅟᅟเพื่อจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) และสอดคล้องกับลักษณะงานและบริบทของมหาวิทยาลัย


๑.๓ เป้าหมาย

ᅟᅟᅟᅟบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีขีดสมรรถนะเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์

๑.๔ ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


๑.๕ โครงสร้างการแบ่งส่วนงานและการบริหารงาน

๑.๕.๑ การบริหารงาน

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ถือเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ แห่งคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายมหานิกาย การบริหารและการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายทั้งกับรัฐบาลและคณะสงฆ์ โดยมีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรบริหารสูงสุด

๑.๕.๒ โครงสร้างมหาวิทยาลัย

๑.๖ ข้อมูลสารสนเทศในด้านบุคลากร

๑.๖.๑  ข้อมูลบุคลากรสายวิชาการ และผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ปีการศึกษา ๒๕๖๔  

ᅟᅟᅟวันที่ ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มีอาจารย์ทั้งหมด ๑,๓๖๔ รูป/คน จำแนกเป็นปริญญาโท ๕๓๐ รูป/คน ปริญญาเอก ๘๓๔ รูป/คน  และมีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน ๕๐๔ รูป/คน จำแนกเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ๓๗๓ รูป/คน  รองศาสตราจารย์ ๑๒๓ รูป/คน และศาสตราจารย์ ๘ รูป/คน

*ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕   ผศ.= ผู้ช่วยศาสตราจารย์  รศ.= รองศาสตราจารย์   ศ.= ศาสตราจารย์

๑.๖.๒ จำนวนบุคลากรแยกตามประเภท

ᅟᅟᅟในปีพ.ศ. ๒๕๖๖ มีบุคลากรประเภทตำแหน่งสายปฏิบัติการและบริหารทั่วไป (นับรวมอัตราจ้างที่มีสัญญาจ้างและค่าตอบแทน) จากทุกส่วนงาน รวมทั้งหมด ๒,๓๐๘ รูป/คน บุคลากร ๑,๐๓๘ รูป/คน ลูกจ้าง ๑,๒๗๐ รูป/คน

*ข้อมูล กองกลาง สำนักงานอธิการบดี ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖


๑.๗ จำนวนผู้บริหารตามโครงสร้างมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟᅟผู้บริหารตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๖๕  มีโครงสร้างและตำแหน่งจำแนกเป็นผู้บริหารระดับสูง  ระดับกลาง และระดับต้น  ดังแสดงในตารางที่ ๓

ᅟᅟᅟᅟตารางที่ ๓  ผู้บริหารระดับสูง กลาง ต้น ตามโครงสร้างมหาวิทยาลัย

*ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕  


ส่วนที่ ๒ ความเชื่อมโยงและทิศทางการพัฒนาบุคลากรกับการพัฒนามหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟᅟการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีข้อมูลนโยบาย เอกสารที่เชื่อมโยง เกี่ยวข้องและนำมาทบทวนการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรดังนี้

๒.๑ นโยบายอธิการบดีเพื่อการบริหารมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๕

๒.๑.๑ นโยบายที่ ๑ วัดมหาวิทยาลัย (MCU Monastic University)

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะธำรงสถานะความเป็นสถาบันอุดมศึกษาแบบสากลและสถาบันอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟ- องค์ประกอบของวัด เช่น พระสงฆ์สามเณร การศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่พระธรรมวินัย ศาสนวัตถุ/ศาสนสถานเป็นพุทธศิลป์เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ วิหาร รอยพระพุทธบาท ต้นพระศรีมหาโพธิ พระบรมสารีริกธาตุ ศาสนพิธี ลักษณะทางกายภาพอื่น ๆ ที่แสดงความเป็นวัดในพระพุทธศาสนา

ᅟᅟᅟᅟ- ผู้บริหารที่เป็นพระสงฆ์และ/หรือพระนิสิตนำทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ทำวัตร สวดมนต์ บำเพ็ญจิตภาวนา บุญพิธีและกุศลพิธีอยู่เนือง ๆ ทั้งในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันสำคัญของชาติ และวันสำคัญของชุมชนท้องถิ่น

ᅟᅟᅟᅟ- ร่วมมือกับคณะสงฆ์หรือองค์กร/สมาคม/สถาบันต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการศึกษาปฏิบัติ และเผยแผ่พระพุทธศาสนา กิจกรรม/พิธีกรรมท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับหลักพระพุทธศาสนา ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟᅟ- พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดพระพุทธศาสนา ศูนย์การเรียนรู้และเก็บสะสมคัมภีร์โบราณ/ปัจจุบัน สถาปัตยกรรม/ประติมากรรม/จิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา

ᅟᅟᅟᅟ- มูลนิธิ/กองทุนพัฒนาสถาบัน

ᅟᅟᅟมจร วังน้อย : จัดภูมิทัศน์พื้นที่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ และบริเวณโดยรอบอาคารพิพิธภัณฑ์พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ และสถานที่อื่น ๆ กิจกรรมทำวัตรเช้าทุกวันจันทร์ต้นเดือน และกิจกรรมบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุในวันสำคัญต่าง ๆ

๒.๑.๒ นโยบายที่ ๒ มหาวิทยาลัยสีเขียว (MCU Green University, Living Educational Institution)

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะพัฒนาด้านกายภาพ เช่น อาคารสถานที่ ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ดังนี้ ต้นไม้ สวนป่า สวนหย่อม แหล่งน้ำ สวนเกษตรผสมผสาน

ᅟᅟᅟᅟ- การจัดเก็บขยะ กำจัดขยะมูลฝอย การแปลงขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ

ᅟᅟᅟᅟ- ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) อย่างน้อยครึ่งหนึ่งในการเรื่องไฟฟ้าเพื่อการบริหารภายในอาคาร และติดตั้งหลอดไฟโซล่าเซลล์ตามจุดต่าง ๆ ภายนอกอาคาร

ᅟᅟᅟᅟ- มาตรการประหยัดค่าสาธารณูปโภค คือ ไฟฟ้า โดย

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๑) ปรับเปลี่ยนสวิทช์รวมเป็นสวิทช์ ไฟฟ้าและพัดลมบางจุด เพื่อให้เปิดใช้เฉพาะจุดที่จำเป็น

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๒) ลดจำนวนหลอดไฟบางจุดที่มีมากเกินความจำเป็น

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๓) ใช้สวิทช์อัตโนมัติ (Sensor) ที่เปิดเมื่อคนเดินเข้าไปใช้และปิดเองเมื่อไม่มีคนเข้าไปใช้งานในที่นั้น ๆ เช่น บริเวณห้องน้ำ

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๔) ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดประหยัดพลังงาน

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๕) เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เก่ากินไฟมาก

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๖) รณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดไฟฟ้า

ᅟᅟᅟᅟ- มาตรการประหยัดน้ำ

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๑) ปรับเปลี่ยนก็อกน้ำอัตโนมัติบางจุดที่มีระยะเวลาระหว่างเปิด-ปิด นานเกินไปเมื่อมีการเปิดก็อกน้ำ

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๒) สำรวจและซ่อมแชมก็อกน้ำ/ท่อน้ำที่ชำรุดทำให้น้ำรั่วไหล

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๓) ใช้น้ำจากบ่อ/สระรดน้ำต้นไม้สลับกับใช้น้ำประปา โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ปั๊มน้ำ

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๔) รณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดน้ำ

ᅟᅟᅟᅟ- จัดภูมิทัศน์บริเวณภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี งดงาม สะอาด สว่างโดยติดตั้งหลอดไฟโซล่าเซลล์ตามจุดต่าง ๆ และสงบ ให้สัปปายะ (เหมาะสะดวก) ต่อการศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่พระพุทธศาสนา

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา :

ᅟᅟᅟᅟ- ปลูกต้นไม้เสริมตามจุดต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟᅟ- จัดภูมิทัศน์ในบริเวณมหาวิทยาลัย คือ ด้านหน้าติดถนนใหญ่ ประตูทางเข้า (หน้าบ้านหน้ามอง) ด้านหน้าอาคารสถาบันวิปัสสนาธุระ รอบอาคารหอฉัน พื้นที่บริเวณตรงกลางอาคารเรียนรวม บริเวณรอบสระหน้าหอประชุม มวก.

ᅟᅟᅟᅟ- บูรณปฎิสังขรณ์อาคาร คือ (๑) อาคาร มจร ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (๒) อาคารเรียนรวม (๓) อาคารหอฉัน (๔) อาคารหอพักนิสิตที่อยู่ด้านหน้าอาคาร พอ.มจร.

ᅟᅟᅟᅟ- ดำเนินการจัดทำอาคารหอสมุดนานาชาติให้สมบูรณ์ และจัดหาครุภัณฑ์ประกอบอาคาร เพื่อให้ใช้สอยได้

ᅟᅟᅟᅟ- บูรณปฏิสังขรณ์บริเวณไหล่ทางภายในมหาวิทยาลัยให้สะดวกแก่การสัญจร

ᅟᅟᅟᅟ- ปรับปรุง/ลอกท่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยให้น้ำไหลถ่ายเทได้สะดวกยิ่งขึ้น

ᅟᅟᅟᅟ- ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย

ᅟᅟᅟᅟ- สร้างอาคารที่เก็บพักขยะ

ᅟᅟᅟᅟ- ติดตั้งโซล่าเชลล์ตามอาคารต่าง ๆ

ᅟᅟᅟᅟ- ปรับปรุง/เพิ่มสมรรถนะโรงไฟฟ้าย่อยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ᅟᅟᅟᅟ- จัดทำระบบไฟฟ้าสำรองตามอาคารต่าง ๆ เช่น อาคารเรียนรวม อาคารสำนักงานอธิการบดี อาคารวิทยบริการ

ᅟᅟᅟᅟ- นำดินมาใส่เพิ่มบริเวณพื้นที่ป่าหลังอาคารสถาบันวิปัสสนาธุระให้มีระดับสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นพื้นที่ที่ปฏิบัติกรรมฐาน และเพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขังเวลาฝนตก

ᅟᅟᅟᅟ- ปลูกต้นไม้เล็ก เช่น ชาดัด ต้นโมก หรือไทรเกาหลีเพื่อเป็นแนวรั้วกั้นสวนหลังอาคารสถาบันวิปัสสนาธุระ ให้เป็นสวนป่าแยกสัดส่วนใช้ปฏิบัติธรรมได้ในบางโอกาส


๒.๑.๓ นโยบายที่ ๓ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (MCU Learning Community)

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้สำหรับคนทุกเพศทุกวัยและทุกชาติ จะดำเนินงานพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตดังนี้

ᅟᅟᅟᅟ- ดำเนินการจัดทำ มคอ. ๑ สาขาวิชาพระพุทธศาสนาระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอกเสนอให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ

ᅟᅟᅟᅟ- หลักสูตรด้านพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ระดับรับปริญญา Degree และหลักสูตรระดับประกาศนียบัตร Non Degree

ᅟᅟᅟᅟ- หลักสูตรฝึกอบรมด้านพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อให้เกิดทักษะใหม่ ๆ (Reskills) และเพื่อเพิ่มทักษะ (Upskills) สำหรับผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย คณะสงฆ์ และประชาชนทั่วไป

ᅟᅟᅟᅟ- หลักสูตรเพิ่มความรู้ (Upskills) ด้านภาษาต่างประเทศสำหรับผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป

ᅟᅟᅟᅟ- ระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) เพื่อรับปริญญา โดยเปิดโอกาสให้ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรสาขาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยสะสมหน่วยกิตเพื่อรับปริญญา

ᅟᅟᅟᅟ- หลักสูตรด้านพระพุทธศาสนาออนไลน์เพื่อรับปริญญา (Degree)

ᅟᅟᅟᅟ- หลักสูตรบริการวิชาการ Massive Online Open Course (Mooc)

ᅟᅟᅟᅟ- ร่วมมือกับเครือข่ายจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ๒ ปริญญา รวมทั้งเปิดรับนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นมาลงทะเบียนเรียนบางรายวิชาเพื่อสะสมหน่วยกิตรับปริญญาหรือเพิ่มพูนความรู้

ᅟᅟᅟᅟ- บริเวณภายในมหาวิทยาลัยมีแหล่งเรียนรู้มาก ในรูปแบบของเอกสารทางวิชาการ กิจกรรมการบรรยาย ห้องสมุดที่เปิดให้ชุมชนโดยรอบเข้าใช้ประโยชน์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม เป็นต้น

๒.๑.๔ นโยบายที่ ๔ พุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม มหาวิทยาลัยเพื่อสังคมมหาวิทยาลัยประจำ

ᅟᅟᅟนโยบายที่ ๔ พุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยประจำ (Buddhist Innovation for Mental and Social Development, Engaged University and Boarding University)

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะเป็นแหล่งสร้างพุทธนวัตกรรมทั้งด้านผลผลิต กระบวนการบริการ และการจัดการ โดยจะดำเนินงานพันธกิจด้านการวิจัยและบริการวิชาการ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟ- วิจัยและพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญา มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธวิธีเพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่จัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการที่เน้นทั้งการศึกษาเล่าเรียน (Study-Academic) และการศึกษา อบรม (Training-Meditation) ควบคู่กันไป พร้อมกันนั้นก็ให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง/จำลองสถานการณ์ประกอบรายวิชาต่าง ๆ ให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เข้ากับหลักพาหุสัจจะที่ว่า (๑) พหุสสุตา ได้ยินได้ฟังมาก (๒) ธตา ทรงจำไว้ได้ (๓) วจสา ปริจิตา คล่องปาก (๔) มนสานุปกฺขิตา ขึ้นใจ และ (๕) ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบคิดเป็นทฤษฎีได้ เน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบ Teach Less, Learn More และ Student-Directed Learning เพื่อสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่จะทำให้อยู่ในสังคมยุคใหม่ได้อย่างปกติสุข ประกอบด้วย Academic Leadership, Social Literacy, Social Maturity, Proactive Attitude, Emotional Intelligence, Management Skills และ Media Literacy

ᅟᅟᅟᅟ- วิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานที่เหมาะสำหรับคน แต่ละวัยและสถานะหน้าที่การงานเพื่อพัฒนาปัญญาและคุณธรรม

ᅟᅟᅟᅟ- วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเชิงพุทธบูรณาการ โดยนำผลการวิจัยมา ทำเป็นคู่มือการฝึกอบรม พร้อมกันนั้นก็จัดโครงการฝึกอบรมผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ของ มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป

ᅟᅟᅟᅟ- วิเคราะห์ ตีความ อธิบายความพุทธธรรม จัดระบบ ออกแบบการนำเสนอ จัดทำเป็นชุด ความรู้ที่เหมาะกับคนแต่ละวัยและสถานะ เช่น การ์ตูน Animation พุทธประวัติ อนุพุทธประวัติ ชาดกแล้วนำเสนอทั้งใน Onsite และ Online ในช่องทางต่าง ๆ ของ MCUTV

ᅟᅟᅟᅟ- กิจกรรมการเทศน์ ปาฐกถา บรรยายธรรม Online ทุกสัปดาห์และในวันสำคัญต่าง ๆ สะสมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาให้บริการวิชาการแก่สังคมทุกรูปแบบ เช่น รายการเสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ᅟᅟᅟᅟ- กิจกรรมการให้การศึกษาเล่าเรียนและการศึกษาอบบรมแก่เยาวชนในรูปแบบโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันเสาร์ - อาทิตย์ ในรูปแบบของการจัดค่ายพุทธบุตร-ค่ายคุณธรรม

ᅟᅟᅟᅟ- กิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนาสำหรับนิสิตและประชาชนทั่วไป เช่น ที่ มจร วังน้อยจัดเดือนละ ๒ ครั้ง สำหรับบุคลากรของภาครัฐและเอกชนที่มาบำเพ็ญจิตตภาวนา

ᅟᅟᅟᅟ-การทำหน้าที่ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา เน้นบริการวิชาการแก่สังคมที่เป็นเพื่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ อาชีพ และชุมชนสามัคคี

ᅟᅟᅟᅟ-มีชุมชนภายในมหาวิทยาลัย/รอบมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมศาสนาร่วมกันอยู่เนือง ๆ


๒.๑.๕ นโยบายที่ ๕ ความเป็นนานาชาติ (International Buddhist Studies Center)

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก ปัจจุบันมีนิสิตต่างประเทศทุกระดับ มีจำนวน ๑,๓๘๓ รูป/คน แยกระดับดังนี้ (๑) ปริญญาตรี จำนวน ๘๕๘ รูป/คน (๒) ปริญญาโท จำนวน ๓๖๒๙ รูป/คน (๓) ปริญญาเอก จำนวน ๓๕๖ รูป/คน นโยบายในการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์ สมัยใหม่ระดับนานาชาติ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟ- วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (International Buddhist Studies Center = IBSC) คณะ วิทยาลัยของมหาวิทยาลัยทำความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน/องค์กรในต่างประเทศ

ᅟᅟᅟᅟ- จัดตั้งศูนย์ประสานงานในต่างประเทศ ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ ประสงค์จะมาศึกษาที่มหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแล้วกลับไปประเทศของตนประสงค์ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมก็สามารถแจ้งศูนย์ประสานงานนี้ได้

ᅟᅟᅟᅟ- ทำงานร่วมกับเครือข่าย ABU, ICDV และกลุ่มนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาที่ทำ CBT และ UCBT รวมทั้งการแปลพระไตรปิฎกบาลีเป็นภาษาอังกฤษที่รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อเฉลิมฉลองพระชนมายุ ๖ รอบพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

ᅟᅟᅟᅟ- ทำงานร่วมกับเครือข่ายสถาบันสมทบในต่างประเทศ

ᅟᅟᅟᅟ- คณะ วิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษทำแผ่นแนะนำหลักสูตร มีรายละเอียดครบถ้วนตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร หลักฐานประกอบการสมัคร การขอ Provisional Admission เพื่อประกอบการขอวีซ่าเข้าประเทศ จำนวนหน่วยกิตรายวิชา ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (เทียบสกุลเงินของชาติต่าง ๆ ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตร เป็นต้น)

ᅟᅟᅟᅟ- กำหนดให้คณาจารย์ของคณะที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความรู้ระดับที่จะถ่ายทอดทางวิชาการได้

ᅟᅟᅟᅟ- ตั้งกองทุนเพื่อความเป็นนานาชาติ เพื่อระดมทุนจ้างอาจารย์ชาวต่างประเทศมาเป็นอาจารย์คณะ วิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติ

ᅟᅟᅟᅟ- จัดการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ (อังกฤษ จีน และอื่น ๆ) ในคณะและวิทยาลัยต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น เปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีในคณะครุศาสตร์

ᅟᅟᅟᅟ- เพิ่มจำนวนหลักสูตรด้านพระพุทธศาสนา/พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ หลักสูตรภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ อีก ๑ ภาษา Online

ᅟᅟᅟᅟ- แปลตำราประกอบการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีเป็นภาษาอังกฤษปีละ ๑๐ วิชา

ᅟᅟᅟᅟ- เพิ่มปริมาณเนื้อหาทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษ เผยแพร่ทั้งในรูปของเอกสารและทาง Online

๒.๑.๖ นโยบายที่ ๖ เทคโนโลยีเพื่อการบริหาร การเรียนการสอน และบริการวิชาการ (Network, Application and Broadcasting)

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่นำความก้าวหน้าด้าน เทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารสถาบัน ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟ- เพิ่มสมรรถนะเครือข่าย MCU-Network ให้สามารถรองรับการใช้งานบริหารมหาวิทยาลัย ครอบคลุมทุกวิทยาเขต/ทุกวิทยาลัยสงฆ์

ᅟᅟᅟᅟ- นำ Application มาใช้ในการบริหารด้านการเงิน-งบประมาณ ด้านงานบุคคล ด้านการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในเชิงนโยบายแต่หลากหลายในทาง

ᅟᅟᅟᅟ- พัฒนาบุคลากร/เจ้าหน้าที่ด้านข้อมูลและเทคโนโลยี (IT) ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยซีดความสามารถและจำนวนของบุคลากรเจ้าหน้าที่ด้านนี้ปัจจุบันมีดังนี้ (๑) ด้านเว็บไซต์ ระดับพื้นฐาน จำนวน ๘๕ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๑ คน ระดับสูง จำนวน ๑ คน (๒) ด้านเน็ตเวิร์ค ระดับพื้นฐาน จำนวน ๓๗ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๑๑ รูปหรือคน ระดับสูง จำนวน ๑ คน (๓) อี-เลิร์นนิ่ง ระดับพื้นฐาน จำนวน ๓๗ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๑ รูปหรือคน ระดับสูง จำนวน ๑ รูปหรือคน (๔) ด้านแอพพลิเคชั่น- ระดับพื้นฐาน จำนวน ๔๓๒ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๕๙ รูปหรือคน ระดับสูง ๖ รูปหรือคน

ᅟᅟᅟᅟนอกจากนี้ เมื่อจัดกลุ่มแยกย่อยลงไป มีขีดความสามารถและจำนวนบุคลากร/เจ้าหน้าที่ ดังนี้ (๑) ห้องสมุด ระดับพื้นฐาน จำนวน ๖๘ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๕๖ รูปหรือคน ระดับสูง จำนวน ๒ รูปหรือคน (๒) ด้านอี-มีทติ้ง ระดับพื้นฐาน จำนวน ๔๐ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๑ รูปหรือคน ระดับสูง จำนวน ๑ รูปหรือคน (๓) ด้านทะเบียน+การเงิน ระดับพื้นฐาน จำนวน ๓๒๔ รูปหรือคน ระดับกลาง จำนวน ๒ รูปหรือคน ระดับสูง จำนวน ๓ รูปหรือคน (๔) ด้านเอ็มไอเอส - MIS ระดับพื้นฐาน จำนวน ๕๐ รูปหรือคนระดับกลาง จำนวน ๑ รูปหรือคน

ᅟᅟᅟᅟ- ศึกษาวิจัย/นำเสนอ/บริการข้อมูลด้านพระพุทธศาสนาทุกมิติทั้งออนไซต์และออนไลน์ มีความถูกต้อง มีจำนวนมาก มีหลายภาษา ทำหน้าที่เน้นบทบาทผู้สร้างและนำเสนอเนื้อหา

ᅟᅟᅟᅟ- ระบบ BIG DATA เพื่องานบริหารมหาวิทยาลัย ให้มีลักษณะเป็นกึ่ง E-RGANIZATION และเป็นกึ่ง DIGITAL UNIVERSITY


๒.๑.๗ นโยบายที่ ๗ กิจกรรมร่วมเครือข่ายเดิมและเพิ่มเครือข่ายใหม่กับสถาบัน/องค์กรภายนอก

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ทำข้อตกลงร่วมมือกับองค์กร/สถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก จะสานต่อกิจกรรมร่วมกันที่ทำมาให้ยิ่งขึ้น จะเริ่มกิจกรรมร่วมกันใหม่ ๆ ให้มาก ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟ- มหาเถรสมาคม (มส.)

ᅟᅟᅟᅟ- โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

ᅟᅟᅟᅟ- โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข

ᅟᅟᅟᅟ- หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

ᅟᅟᅟᅟ- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ สำนักงานพระพุทธศาสนา ประจำจังหวัด

ᅟᅟᅟᅟ- กระทรวงวัฒนธรรมและวัฒนธรรมประจำจังหวัด

ᅟᅟᅟᅟ- ศูนย์คุณธรรม

ᅟᅟᅟᅟ- กองธรรม กองบาลี และการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ

ᅟᅟᅟᅟ- องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

ᅟᅟᅟᅟ- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และเขตพื้นที่การศึกษาของ สพฐ.

ᅟᅟᅟᅟ- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

ᅟᅟᅟᅟ- สถาบันการศึกษาต่าง ๆ

ᅟᅟᅟᅟ- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ᅟᅟᅟᅟ- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

ᅟᅟᅟᅟ- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ᅟᅟᅟᅟ- กระทรวงยุติธรรม (งานศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชน)

ᅟᅟᅟᅟ- กระทรวงสาธารณสุข (โรงพยาบาลสงฆ์เป็นต้น)

ᅟᅟᅟᅟ- สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU)

ᅟᅟᅟᅟ- สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)

ᅟᅟᅟᅟ- สถาบันสมทบในต่างประเทศ

๒.๑.๘ นโยบายที่ ๘ บริหารองค์กรโดยหลักธรรมาภิบาลและพระธรรมวินัย

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมี ๒ สถานะคือ (๑)เป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีพันธกิจ ๔ ด้านคือ ผลิต บัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมเหมือนกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป  และ (๒)เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของคณะสงฆ์ไทย ที่มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทยรับรองอย่างเป็นทางการ ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ เรื่อง การศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ซึ่งเท่ากับว่ามหาวิทยาลัยมีพันธกิจของคณะสงฆ์อีก ๖ ด้านคือ การปกครอง การศึกษา การเผยแผ่ การสาธารณูปการ การสาธารณสงเคราะห์ และการศึกษาสงเคราะห์ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและยึดหลักพระธรรมวินัยควบคู่กันไป อนุวัตตามกันและกัน

ᅟᅟᅟการบริหารงานเพื่อความสำเร็จตามนโยบาย ๖ ประการข้างต้นโดยหลักธรรมาภิบาลและหลักพระธรรมวินัยควบคู่กัน คือ

  • ประการที่ ๑ หลักนิติธรรม (Rule of Law) และศีล/พระวินัย
    แสดงเพิ่มเติม...
  • ประการที่ ๒  หลักคุณธรรม (Morality)
    แสดงเพิ่มเติม...
  • ประการที่ ๓ หลักความโปร่งใส (Accountability)
    แสดงเพิ่มเติม...
  • ประการที่ ๔ หลักความมีส่วนร่วม (Participation)
    แสดงเพิ่มเติม...
  • ประการที่ ๕ หลักความรับผิดชอบ (Responsibility)
    แสดงเพิ่มเติม...
  • ประการที่ ๖ หลักความคุ้มค่า(Cost-Effectiveness)
    แสดงเพิ่มเติม...

๒.๒ วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม


๒.๓ พันธกิจมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ᅟᅟᅟ๒.๓.๑ ผลิตบัณฑิต  ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา โดยกระบวนการผลิตบัณฑิตจะบูรณาการร่วมกับพัฯธกิจด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการบริการวิชาการ และด้านทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีสติปัญญาและคุณธรรม ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟ๒.๓.๒ วิจัยและพัฒนา  พัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก โดยวิธีสหวิทยาการแล้วนำองค์ความรู้ที่ค้นพบมาประยุกต์ให้แก้ปัญหาศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม รวมทั้งพัฒนาปัญญาและคุณธรรม การพัฒนาคุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาโดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพนักวิจัย ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือพุทธนวัตกรรมให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและมีความเป็นสากล และใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อบูรณาการพระพุทธศาสนา กับศาสตร์สมัยใหม่ให้สู่ภาคปฏิบัติได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

ᅟᅟᅟ๒.๓.๓ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม  ส่งเสริมให้บุคลากรและนิสิต มีความตระหนังและเห็นความสำคัญของการมีจิตอาสา ความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและคุณธรรม การมีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนาการบริการวิชาการที่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติงานของบุคลากรและนิสิตร่วมกับภาคีเครือข่ายการบริการวิชาการในระดับชาติ ภูมิภาค และนานาชาติ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และพุทธนวัตกรรมในการแก้ปัญหาและเสริมสร้างสันติสุขและความมั่นคงของ ชุมชน วัด ท้องถิ่น และสังคมโดยใช้การปฏิบัติศาสนกิจและการบริการสังคมของนิสิต เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพันธกิจ

ᅟᅟᅟ๒.๓.๔ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ร่วมกับภาคีเครือข่าย ชุมชน วัด ท้องถิ่น หรือเครือข่ายความร่วมมือในต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาแลห่งการเรียนรู้ด้านการอนุรักษณ์ สืบสาน ส่งเสริม พระพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เอื้อต่อการศึกษาโดยใช้พระพุทธศาสนาเป็นกลไกเพื่อสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพและยั่งยืน

ᅟᅟᅟ๒.๓.๕ การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ทบทวนกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมาย ให้ทันสมัยสอดคลองกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตามรูปแบบ และส่งเสริมการใช้กฎหมายให้กับบุคลากรอย่างถูกต้องในกระบวนการทำ ตามหลักการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้เกิดการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

๒.๔ แผนพัฒนามหาวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๑

๒.๔  แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)

ᅟᅟᅟประเด็นยุทธศาสตร์ ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยฯ ฉบับที่ ๑๓

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีทิศทางยุทธศาสตร์มุ่งสู่การเป็นเลิศทางการบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่สังคม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับชาติและอาเซียน เพื่อการกาหนดทิศทางให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงดาเนินการจัดทาแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ.๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ซึ่งประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ๑๗ เป้าประสงค์ ดังนี้

ᅟᅟᅟยุทธศาสตร์ที่ ๑ จัดกสรศึกษา พัฒนาบัณฑิตให้มีสติปัญญาและคุณธรรม ประกอบด้วย ๔ เป้าประสงค์ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๑.๑ บัณฑิตมีคุณลักษณะทางสติปัญญาและคุณธรรม

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๑.๒ หลักสูตรมีการบูรณาการหลักพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๑.๓ อาจารย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และสามารถบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม*

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๑.๔ ทรัพยากรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการศึกษา

ᅟᅟᅟยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนางานวิจัยและพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม ประกอบด้วย ๔ เป้าประสงค์ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๒.๑ มีระบบและกลไก การส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานวิจัยที่ได้มาตรฐาน

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๒.๒ ผลงานวิจัยและ /หรือนวัตกรรมที่พัฒนาปัญญาและคุณธรรม

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๒.๓ ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์หรือพุทธนวัตกรรมได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ทั้งในระดับชาติหรือนานาชาติ

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๒.๔ ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์หรือพุทธนวัตกรรมได้รับการอ้างอิงหรือนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชาติหรือนานาชาติ

ᅟᅟᅟยุทธศาสตร์ที่ ๓ บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ชุมชน วัด ท้องถิ่นและสังคมให้เกิดสันติสุขประกอบด้วย ๒ เป้าประสงค์ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๓.๑ ศูนย์กลางบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาเพื่อสร้างชุมชนและสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืนในระดับชาติหรือนานาชาติ

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๓.๒ ผลงานบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและปรัชญาที่บูรณาการกับพันธกิจเพื่อสร้างชุมชนสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน

ᅟᅟᅟยุทธศาสตร์ที่ ๔ อนุรักษ์ สืบสาน ส่งเสริม พระพุทธศำสนำ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ๒ เป้าประสงค์ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๔.๑ ผลงานด้านการอนุรักษ์สืบสานส่งเสริมและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชนสังคมอย่างยั่งยืน

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๔.๒ พุทธนวัตกรรมที่เกิดจากการอนุรักษ์สืบสานส่งเสริมและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับชาติหรือนานาชาติ

ᅟᅟᅟยุทธศาสตร์ที่ ๕ พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย ๓ เป้าประสงค์ ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๕.๑ มีระบบการบริหารจัดการองค์กรวิถีพุทธ

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๕.๒ มีระบบการบริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย

ᅟᅟᅟᅟเป้าประสงค์ที่ ๕.๓ มีระบบการบริหารจัดการด้วยรูปแบบมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)

*ภาพที่ ๒.๑ แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy map) ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)

ส่วนที่ ๓ การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ 

ᅟᅟᅟตามทิศทางการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยมุ่งการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร โดยใช้เครื่องมือบริหารจัดการยุคใหม่ การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ

แสดงเพิ่มเติม...

๓.๑ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงจากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

*แผนภาพที่ ๓.๑ ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ ๑๓ กับ แผนพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)

๓.๒ การวิเคราะห์ SWOT


๓.๓ ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร

๓.๔ แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ ๑๓ ปีงบประมาณ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) ส่วนที่เชื่อมโยงสู่การพัฒนาบุคลากร


ส่วนที่ ๔ แผนพัฒนาบุคลากร

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีแผนพัฒนาบุคลากรในภาพรวม สำหรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการพัฒนาบุคลากร

แสดงเพิ่มเติม...

๔.๑ เป้าหมายแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ᅟᅟᅟ๔.๑.๑ ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง
กับการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ

ᅟᅟᅟ๔.๑.๒ ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการตามแผนพัฒนาบุคลากร

๔.๒ กลยุทธ์แผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


๔.๓ แผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)





๔.๔ Road Map ของแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)

ภาพที่ ๓.๑ Road Map ของแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐)

ส่วนที่ ๕ การนำแผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติ

ᅟᅟᅟการนำแผนพัฒนาบุคลากรไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกส่วนงานและบุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อให้แผนพัฒนาบุคลากรมีความสอดคล้องกันในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ ตลอดจนมีแนวทางการดำเนินงานที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน ควรดำเนินการดังนี้

๕.๑ การบริหาร

ᅟᅟᅟ๕.๑.๑ ระดับนโยบาย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายที่เกี่ยวข้องกับส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย พิจารณากำหนดนโยบายเสนอความเห็นก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย  เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ

ᅟᅟᅟ๕.๑.๒ ระดับขับเคลื่อนแผน มีคณะ/ส่วนงาน ทำหน้าที่ในการนำนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร  รวมทั้งติดตามความก้าวหน้า และนำเสนอข้อแนะนำ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร ของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟ๕.๑.๓ ระดับปฏิบัติการ ประกอบด้วย บุคลากรของมหาวิทยาลัยทุกคน จะต้องรับทราบนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร และนำไปปฏิบัติในส่วนที่ตนมีความเกี่ยวข้อง


๕.๒ การขับเคลื่อนแผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ในระดับต่างๆ ดังนี้

ᅟᅟᅟ๕.๒.๑ ระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีการบูรณาการแผนพัฒนาบุคลากร (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) และ

แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และนำไปกำหนดเป็นกรอบของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและคณะ/ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และดูแลรับผิดชอบโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในภาพรวมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ᅟᅟᅟ๕.๒.๒ ระดับคณะ/ส่วนงาน  เพื่อให้มีการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติในระดับคณะ/ส่วนงาน โดยผลักดันให้นโยบายการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของคณะ/ส่วนงาน  รวมทั้งเป้าหมาย มาตรการ และแนวทางไปดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม  และการมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรมที่มหาวิทยาลัยดำเนินการในภาพรวม

ᅟᅟᅟ๕.๒.๓ ระดับบุคคล ให้คณะ/ส่วนงานนำตัวชี้วัดของแผนพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวกับตัวบุคคลไปกำหนด
ในกรอบการประเมินผลระดับบุคคล  เพื่อวัดผลงานระดับบุคคลและนำไปสู่การเป็น ส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบระดับบุคคล  หรือการต่อสัญญาจ้างต่อไป


๕.๓ แนวทางการติดตามประเมินผล

ᅟᅟᅟ๕.๓.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ประจำปี

ᅟᅟᅟ๕.๓.๒ มีการประเมินผลตามเป้าหมายรายยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาบุคลากร

ᅟᅟᅟ๕.๓.๓ ให้มหาวิทยาลัยและคณะ/ส่วนงานนำแผนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยไปบูรณาการร่วมกับการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัยและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของคณะ/ส่วนงาน

ᅟᅟᅟ๕.๓.๔ นำตัวชี้วัดในแผนพัฒนาบุคลากรไปกำหนดเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน สำหรับรายบุคคล

ᅟᅟᅟ๕.๓.๕ มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานของส่วนงานในระดับปฏิบัติการ ตามระยะเวลาที่กำหนดให้มีการประเมินแผนฯ เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์

ᅟᅟᅟ๕.๓.๖ ทบทวนแผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานและปรับปรุงแผนฯ


บรรณานุกรม

ᅟᅟᅟมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐), ๒๕๖๖.


ภาคผนวก

*ดูแบบ e-Book แผนพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐