ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๕๕

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ว่าด้วยประมวลจริยธรรม พุทธศักราช ๒๕๕๕

————————

ᅟᅟᅟᅟโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๙ บัญญัติให้มี ประมวลจริยธรรมเพื่อกําหนดมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท โดยให้มีกลไกและระบบบังคับใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและเป็นแนวทางให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี สํานึกในหน้าที่ เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย คุณธรรมและจริยธรรม เพื่ออนุวัต ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว และเพื่อให้การบริหารงานดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟᅟอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ และมติสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ เมื่อวันพุธที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ จึงให้ออกข้อบังคับไว้ดังต่อไปนี้

หมวด ๑ บททั่วไป

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้ เรียกว่า “ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วย ประมวลจริยธรรม พุทธศักราช ๒๕๕๕

ข้อ ๒ ให้ใช้ข้อบังคับนี้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศมหาวิทยาลัย ว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์ พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน

ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้

ᅟᅟ“มหาวิทยาลัย” หมายความว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ᅟᅟ“สภามหาวิทยาลัย” หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ᅟᅟ“บุคลากร” หมายความว่า คณาจารย์ประจํา เจ้าหน้าที่และลูกจ้างที่เป็นบรรพชิตและ คฤหัสถ์ หรือผู้ดํารงตําแหน่งบริหารวิชาการ หรือนักวิจัย และให้หมายรวมถึงบุคลากรอัตราจ้างด้วย

“คณะกรรมการจริยธรรม” หมายความว่า คณะกรรมการจริยธรรมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


หมวด ๒ มาตรฐานจริยธรรม

ส่วนที่ ๑

มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก

ข้อ ๕ บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก ๑๑ ประการ ดังต่อไปนี้

ᅟᅟ(๑) ยึดมั่นในพระธรรมวินัย คุณธรรมและจริยธรรม

ᅟᅟ(๒) มีจิตสํานึกที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบ

ᅟᅟ(๓) ยึดถือประโยชน์ของสังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และมหาวิทยาลัยเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน

ᅟᅟ(๔) ยืนหยัดในการทําสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย ถูกต้องเป็นธรรม และ ถูกกฎหมาย

ᅟᅟ(๕) ให้บริการแก่นิสิตและประชาชนทั่วไปด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยไมตรีและ ไม่เลือกปฏิบัติ

ᅟᅟ(๖) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่นิสิตและประชาชนทั่วไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่ บิดเบือนข้อเท็จจริง

ᅟᅟ(๗) ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักธรรมาภิบาล

ᅟᅟ(๘) ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ᅟᅟ(๙) ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพของตนและของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟ(๑๐) มีจิตสาธารณะ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม

ᅟᅟ(๑๑) ใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างประหยัดและคุ้มค่า พร้อมกันนั้นก็มุ่ง พัฒนาสร้างเสริมและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

ส่วนที่ ๒

มาตรฐานจริยธรรมของบุคลากร

ข้อ ๖ บุคลากรของมหาวิทยาลัย ต้องยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรม ดังนี้

ᅟᅟ(๑) มีศรัทธา ยึดมั่น และปฏิบัติตามปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ และพันธกิจของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟ(๒) ประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระธรรมวินัย ศีลธรรมอันดีงาม มีความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติงานโดยยึดหลักศีลธรรม นโยบาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คําสั่ง ประกาศ และประเพณีของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟ(๓) ละเว้นการประพฤติตนหรือกระทําการใดๆ อันอาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

ᅟᅟ(๔) มีศรัทธายึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ᅟᅟ(๕) รู้รักสามัคคี มีศรัทธายึดมั่นในแนวทางแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี

ᅟᅟ(๖) มีทัศนคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความเสมอภาค ปราศจากอคติ และปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถตามมาตรฐานภาระงานที่กําหนด

ᅟᅟ(๗) ขยันมุ่งมั่นและใฝ่ใจพัฒนาตนให้มีความรู้ มีทักษะการทํางาน รวมถึงมีบุคลิกภาพเหมาะสมแก่ฐานะ

ᅟᅟ(๘) เป็นกัลยาณมิตรต่อเพื่อนร่วมงาน และปฏิบัติงานด้วยความมีมนุษยสัมพันธ์ อันดีกับเพื่อนร่วมงาน มีเมตตาทางกาย วาจา และใจต่อเพื่อนร่วมงาน มีน้ำใจ ให้ความเคารพผู้อื่น มีความยุติธรรม

ᅟᅟ(๙) ให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงาน มีอิสระทางความคิดและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ᅟᅟ(๑๐) ปฏิบัติตนด้วยความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน สังคม และประเทศชาติ

ᅟᅟ(๑๑) มีความสุภาพเรียบร้อยทางกาย วาจา ปฏิบัติยึดมั่นกายสุจริต วจีสุจริต และ มโนสุจริตในขณะปฏิบัติหน้าที่และในโอกาสอื่นๆ

ᅟᅟ(๑๒) อุทิศเวลาและปฏิบัติงานตรงต่อเวลาอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาปฏิบัติงานให้ เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่

ᅟᅟ(๑๓) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทํางาน มีเมตตา เอื้ออาทรต่อเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไปด้วยความเสมอภาค มีความเป็นธรรม ละ เว้นการประพฤติที่ไม่เหมาะสม ไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างไม่ว่าด้วยกิจการใดๆ

ᅟᅟ(๑๔) หมั่นศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการ สมัยใหม่ตลอดเวลา สร้างสรรค์เผยแพร่งานทางวิชาการหรืองานสร้างสรรค์ที่จะก่อให้ประโยชน์แก่ มหาวิทยาลัย สังคม และประเทศชาติ โดยไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ ไม่นํา ผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนและไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น

ᅟᅟ(๑๕) ให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นํามาใช้ในผลงานทางวิชาการหรืองานสร้างสรรค์ของตนเองและแสดงหลักฐานการศึกษาค้นคว้าหรือการพัฒนาสร้างสรรค์ อย่างชัดเจน และนําผลงานของตนไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมาย


หมวด ๓ กลไกและระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม

ส่วนที่ ๑

กลไกการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม

ข้อ ๗ ให้มีคณะกรรมการจริยธรรมของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

ᅟᅟ(๑) ประธานกรรมการ ได้แก่ อธิการบดี หรือรองอธิการบดีที่อธิการบดีมอบหมาย

ᅟᅟ(๒) กรรมการโดยตําแหน่ง ได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

ᅟᅟ(๓) กรรมการที่เป็นรองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี หรือผู้อํานวยการ วิทยาลัย สถาบัน สํานัก จํานวนไม่เกินเก้ารูปหรือคนที่อธิการบดีแต่งตั้ง

ᅟᅟ(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัยจํานวนไม่เกินห้ารูป หรือคนที่อธิการบดีแต่งตั้ง

ᅟᅟ(๕) กรรมการและเลขานุการ ได้แก่ ผู้อํานวยการกองกลาง

ᅟᅟ(๖) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ได้แก่ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล กรรมการตามข้อ (๓) และ (๔) มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ ๓ ปี และอาจได้รับ แต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

ᅟᅟในกรณีที่กรรมการตามข้อ (๓) และ (๔) พ้นจากตําแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการ ขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการอื่นขึ้นใหม่

ᅟᅟในกรณีที่กรรมการตามข้อ (๓) และ (๔) พ้นจากตําแหน่งก่อนครบวาระ อธิการบดีอาจ พิจารณาแต่งตั้งกรรมการอื่นขึ้นมาแทน และให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นมาแทนนั้นดํารงตําแหน่งเท่า วาระที่เหลืออยู่ของผู้พึ่งตนแทน

ᅟᅟนอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามวรรคสองแล้ว กรรมการตามข้อ (๓) และ (๔) พ้นจากตําแหน่งเมื่อ

ᅟᅟᅟ(๑) มรณภาพหรือตาย

ᅟᅟᅟ(๒) ลาออก

ᅟᅟᅟ(๓) ถูกลงโทษทางวินัย

ᅟᅟᅟ(๔) ขาดคุณสมบัติของการเป็นกรรมการประเภทนั้นๆ ข้อ ๘ คณะกรรมการจริยธรรมมีอํานาจหน้าที่ดังนี้

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๑) ดําเนินการเผยแพร่ ปลูกฝัง ส่งเสริม ให้คําแนะนํา และควบคุมกํากับดูแลใน การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมตามข้อบังคับนี้

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๒) สอดส่องดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของบุคลากร

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๓) ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ให้ชี้แจงข้อเท็จจริง โดยส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือส่งบุคคลมาชี้แจงด้วยวาจาเกี่ยวกับเรื่องที่มีการกล่าวหา

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๔) เรียกบุคลากรของมหาวิทยาลัยผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่องที่ถูกกล่าวหาโดยการให้ปากคํา ส่งเอกสารและหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติม

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๕) รวบรวมข้อมูล และพยานหลักฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่มีการกล่าวหากัน รวมทั้งวินิจฉัยว่ามีการกระทําผิดจริยธรรมหรือไม่ และความผิดดังกล่าวเป็นความผิดวินัยหรือไม่

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๖) พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับการลงโทษทางจริยธรรมต่อมหาวิทยาลัย

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๗) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานเพื่อดําเนินการตามอํานาจในข้อ (๓) (๔) และ (๕) มอบหมาย

ᅟᅟᅟᅟᅟ(๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับมาตรฐานจริยธรรมตามที่สภามหาวิทยาลัย

ข้อ ๙ การประชุมคณะกรรมการประมวลจริยธรรม ให้นําข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๒

ระบบบังคับใช้ประมวลจริยธรรม

ᅟᅟᅟกรณีมีการร้องเรียน หรือปรากฏเหตุว่ามีการปฏิบัติละเมิดจริยธรรม ให้คณะ อนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งดําเนินการสอบสวน เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงตามความเหมาะสมและจําเป็น โดยคํานึงถึงความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาด้วย

ᅟᅟᅟในการสอบสวนแสวงหาข้อเท็จจริง ให้นําประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนบุคลากรผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัย พ.ศ.๒๕๔๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ᅟᅟᅟข้อ ๑๑ เมื่อคณะอนุกรรมการได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว ให้ประชุม พิจารณาลงมติว่า ผู้ถูกกล่าวหาประพฤติผิดจริยธรรมหรือไม่ ถ้าผิด เป็นความผิดจริยธรรมหรือร้ายแรง หรือไม่ร้ายแรงกรณีใด ตามข้อใด และควรได้รับโทษทางจริยธรรมสถานใด ถ้ากรณีมีเหตุว่าผู้ถูก กล่าวหาได้กระทําผิดวินัย ให้ระบุด้วยว่าเป็นความผิดวินัยกรณีใด ตามข้อบังคับ ประกาศ หรือระเบียบ ใด แต่ถ้าไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าประพฤติผิดจริยธรรม ให้ทําความเห็นยุติเรื่อง แล้วส่งสรุปผลการ สอบสวนเสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรมต่อไป

ᅟᅟᅟข้อ ๑๒ ให้คณะอนุกรรมการ หรือคณะทํางานดําเนินการให้เสร็จสิ้นและรายงานให้ คณะกรรมการจริยธรรมทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง แต่ถ้ามีกรณีจําเป็นที่มิอาจ ดําเนินการให้เสร็จสิ้นตามเวลาที่กําหนดได้ อาจเสนอขอขยายเวลาดําเนินการต่อคณะกรรมการจริยธรรมได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันก็ได้

ᅟᅟᅟข้อ ๑๓ เมื่อปรากฏว่าบุคลากรประพฤติผิดจริยธรรมและความผิดดังกล่าวไม่เป็นการ กระทําผิดวินัย ให้อธิการบดีหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายดําเนินการดังนี้

ᅟᅟᅟᅟᅟᅟ(๑) ในกรณีที่เป็นการประพฤติครั้งแรก ให้ทําการตักเตือน

ᅟᅟᅟᅟᅟᅟ(๒) ในกรณีที่เป็นการประพฤติผิดในเรื่องเดิมที่ถูกตักเตือนแล้วตามข้อ ๑) ให้ ออกคําสั่งให้ดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนด

ᅟᅟᅟᅟᅟᅟ(๓) ถ้าผู้นั้นยังฝ่าฝืนไม่ดําเนินการให้ถูกต้องตามข้อ (๒) ให้ทําทัณฑ์บนไว้เป็นหนังสือ และให้ถือว่าเป็นการกระทําผิดวินัยด้วย

ᅟᅟᅟข้อ ๑๔ เมื่อปรากฏว่าบุคลากรประพฤติผิดจริยธรรมและความผิดดังกล่าวเป็นการ กระทําผิดวินัย ให้มหาวิทยาลัยดําเนินการทางวินัยแก่บุคลากรผู้นั้นตามประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องวินัย การรักษาวินัย และการดําเนินการทางวินัย พ.ศ. ๒๕๔๓

ᅟᅟᅟข้อ ๑๕ การสั่งลงโทษทางจริยธรรม ให้ทําเป็นหนังสือ โดยระบุรายละเอียดแห่งการ ประพฤติผิดจริยธรรมให้ชัดเจน และให้ผู้ประพฤติจริยธรรมรับทราบด้วย

ᅟᅟᅟข้อ ๑๖ บุคลากรผู้ใดถูกคําสั่งถึงที่สุดให้ลงโทษทางจริยธรรม แต่ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนั้น ให้ถือว่าเป็นการกระทําผิดวินัย

ᅟᅟᅟข้อ ๑๗ กรณีบุคลากรผู้ประพฤติผิดจริยธรรม ไม่พอใจคําสั่งลงโทษตามข้อ ๑๖ ให้ ดําเนินการอุทธรณ์ ตามแนวทางที่กําหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอุทธรณ์และการพิจารณาเรื่องอุทธรณ์ของบุคลากร พ.ศ. ๒๕๔๓

ᅟᅟᅟข้อ ๑๘ ให้อธิการบดีรักษาการให้เป็นไปตามข้อบังคับนี้

ᅟᅟᅟᅟประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕

(พระธรรมสุธี)

นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

*ดาวน์โหลดข้อบังคับนี้ (PDF)