เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการดำเนินงานจัดการความรู้มหาวิทยาลัย จัดให้มีการนำเสนอผลงานแนววิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการจัดการความรู้ ประจำปี ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุม ๑ – ๔ อาคาร มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา โดยมีส่วนงานตามโครงสร้างการจัดการความรู้ เข้าร่วมนำเสนอผลงานระดับส่วนงานจำนวน ๓๐ ผลงาน จาก ๒๕ ส่วนงาน และระดับบุคคล จำนวน ๑๒ ผลงาน โดยได้รับความอนุเคราะห์กรรมการผู้ประเมินจากภายใน ๔ ท่าน และภายนอก ๘ ท่าน
จำแนกตามกลุ่มประเภทผลงานและส่วนงานนำเสนอ ดังนี้
๑.ผลงานระดับส่วนงาน ด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน ๗ ผลงาน ประกอบด้วย
ชื่อผลงาน | ส่วนงานที่นำเสนอ | |
๑. | กระบวนการบริหารหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (TQF) | วิทยาเขตพะเยา |
๒. | การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธ (Buddhist Participatory Learning : BPL) | วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน |
๓. | วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในรายวิชาการเมืองกับนโยบายสาธารณะ | วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี |
๔. | นครน่าน : นครแห่งการศึกษา พระพุทธศาสนา และศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม | วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน |
๕. | องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านพุทธศาสนา | วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ |
๖. | การเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนา | วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด |
๗. | การเรียนการสอนแบบบูรณาการกับพันธกิจ | วิทยาลัยสงฆ์นครพนม |
๒.ผลงานระดับส่วนงาน ด้านการวิจัย จำนวน ๖ ผลงาน ประกอบด้วย
ชื่อผลงาน | ส่วนงานที่นำเสนอ | |
๑. | การพัฒนากระบวนการการติดตามและประเมินผลการวิจัย | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ |
๒. | การสร้างสรรค์งานจิตกรรมฝาผนังมหาเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์แบบฉบับล้านนา ในแหล่งท่องเที่ยวถิ่นล้านนา | วิทยาเขตเชียงใหม่ |
๓. | การพัฒนาศักยภาพงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติและนานาชาติ | วิทยาเขตนครราชสีมา |
๔. | การจัดการความรู้ด้านงานวิจัย สู่การตีพิมพ์บทความเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ | วิทยาเขตอุบลราชธานี |
๕. | มหาจุฬาฯกับการสรรสร้างชุมชนและสังคม ภายใต้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม | วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน |
๖. | การจัดการความรู้ “KM แนวทางงานสอนสู่งานวิจัยในชั้นเรียน หลักสูตรรัฐศาสตร์ ให้ประสบผลสำเร็จ” | วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี |
๓.ผลงานระดับส่วนงาน ด้านการดำเนินการตามภารกิจ จำนวน ๑๗ ผลงาน ประกอบด้วย
ชื่อผลงาน | ส่วนงานที่นำเสนอ | |
๑. | การบูรณาการฐานข้อมูลพระสอนศีลธรรม กับการเบิกจ่ายนิตยภัต ด้วย Microsoft Access | สำนักงานอธิการบดี (สำนักงานพระสอนศีลธรรม) |
๒. | คู่มือการกรอกข้อมูลอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร | สำนักงานอธิการบดี (สำนักงานประกันคุณภาพ) |
๓. | การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ | สำนักงานอธิการบดี (กองคลังและทรัพย์สิน) |
๔. | การจัดทำคู่มือบัณฑิตวิทยาลัย | บัณฑิตวิทยาลัย |
๕. | ขั้นตอนการสมัครเรียนภาษาอังกฤษทั่วไป (GE) | สถาบันภาษา |
๖. | การให้บริการสู่ความเป็นเลิศตามหลักธรรมาภิบาล | สำนักทะเบียนและวัดผล |
๗. | กระบวนการบริหารข้อมูลองค์กรบน Google Cloud | สำนักหอสมุดฯ (ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ) |
๘. | แนวทางการให้บริการที่เป็นเลิศ | สำนักหอสมุดฯ (ส่วนหอสมุดกลาง) |
๙. | การจัดการโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประชาชนและบุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพจิตใจ | สถาบันวิปัสสนาธุระ (ส่วนงานบริหาร) |
๑๐. | การจัดระบบสารสนเทศเพื่อความเป็นเลิศในประชาคมอาเซียน | ศูนย์อาเซียนศึกษา |
๑๑. | การบริการสู่ความเป็นเลิศ | วิทยาเขตนครราชสีมา (สำนักวิชาการ) |
๑๒. | การจัดการความรู้ของส่วนงานมุ่งสู่การพัฒนาแบบปฏิบัติที่เป็นเลิศ | วิทยาเขตนครสวรรค์ |
๑๓. | การส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น (งานผีตาโขน) | วิทยาลัยสงฆ์เลย |
๑๔. | กระบวนการพัฒนาด้านการวิจัยเพื่อส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีผลงานวิจัย | วิทยาเขตแพร่ |
๑๕. | การสร้างและพัฒนานิสิตต้นแบบ | วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง |
๑๖. | การดำเนินการโครการให้ประสบผลสำเร็จ | วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง |
๑๗. | การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยทางพระพุทธศาสนา | วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ |
๑๘. | กระบวนการเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ |
๔. ผลงานระดับบุคคล จำนวน ๑๒ ผลงาน ประกอบด้วย
ชื่อผลงาน | ผู้นำเสนอ | |
๑. | ระบบบริการสืบค้นห้องสอบออนไลน์ | นาย คเชนทร์ สุดชื่น |
๒. | ระบบบริหารค่ายคุณธรรมออนไลน์ | พระมหาวิชาญ สุวิชาโน |
๓. | ผู้ประสานงานจัดการความรู้ มจร.วิทยาเขตอุบลราชธานีสู่งานประกันคุณภาพการศึกษาของมจร.วิทยาเขตอุบลราชธานี Thailand ๔.๐ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน | นายวรวัฒน์ ราชิวงศ์ |
๔. | เทคนิคพัฒนาโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่เพื่อขอรับการสนัลสนุนทุนวิจัย | ดร.สหัทยา วิเศษ |
๕. | การพัฒนาคุณภาพบทความวิชาการของคณาจารย์วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน | ดร. สามารถ บุญรัตน์ |
๖. | ระบบสารบรรณทันใจ | นายจักรพงศ์ เพ็ญเวียง |
๗. | หลักและแนวทางปฏิบัติทางนิเวศวิทยาในการจัดการป่าชุมชนของพระสงฆ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | นายสนั่น ประเสริฐ |
๘. | คลินิกบรรเทาทุกข์ สำหรับนิสิต | พระครูวินัยธรวราวุฒิ มหาวโร |
๙. | จัดการอย่างไรให้ไกลความเสี่ยง | นายอาทิตย์ แสวงเฉวก |
๑๐. | สวัสดิการ : ขวัญและกำลังใจบุคลากร | พระชยานันทมุนี |
๑๑. | แนววิธีปฏิบัติบริหารงานกองทุนการศึกษา | พระปลัดนฤดล กิตฺติภทฺโท |
๑๒. | ขั้นตอนการจัดประชุมคณะกรรมการสถาบันภาษา | ดร.รุ่งโรจน์ ศิริพันธ์ |
โดยคณะทำงานได้ประมวลข้อเสนอแนะของคณะกรรมการผู้ประเมินผลงานแนววิธีปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการความรู้สำหรับส่วนงานและบุคคลที่นำเสนอผลงานดังนี้
๑.เกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายการจัดการความรู้
– ส่วนงานควรกำหนดองค์ความรู้ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย และวิสัยทัศน์ส่วนงาน
๒.เกี่ยวกับการกำหนดและจัดลำดับความสำคัญขององค์ความรู้หลักและองค์ความรู้
– องค์ความรู้ที่กำหนดต้องผ่านการวิเคราะห์ลำดับความสำคัญ
– การดำเนินการจะให้เกิดองค์ความรู้หลักที่คัดเลือกดำเนินการ ต้องประกอบด้วยองค์ความรู้ย่อยใดบ้าง
– องค์ความรู้หลักและองค์ความรู้ย่อย มีกระบวนอะไรบ้าง จะต้องใช้วิธีการใดที่จะทำให้สำเร็จ
๓.การวางกลยุทธ์การจัดการความรู้ จำแนกออกเป็นแผนปฏิบัติการ
– กลไกการมอบหมายผู้ปฏิบัติ
– การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
๔. การสร้าง แบ่งปัน จัดเก็บความรู้ ประยุกต์ใช้ความรู้ ตามแผนปฏิบัติการ
๕.ข้อเสนอแนะอื่นๆ
– การกำหนดวิสัยทัศน์ ที่จะต้องชัดเจนวัดได้
– ตัววัดมีความท้าทาย
– ตัววัด มีผลกระทบต่อผู้รับบริการ คือให้ความสำคัญกับผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอก
– ผลงานระดับส่วนงาน ควรแสดงให้เห็นถึง Work System และ ผลงานระดับบุคคล ควรแสดงให้เห็นถึง Work Process
กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
๙ กรกฎาคม ๒๕๖๑